top of page

ประโยชน์ของ "กระเทียม"

  • Writer: Bunnie
    Bunnie
  • Apr 8, 2020
  • 1 min read

Updated: Apr 9, 2020



ถ้าพูดถึงกระเทียม ทุกคนก็คงรู้จักกันดี กระเทียมจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับหอมหัวใหญ่

กระเทียม มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Allium sativum Lin ส่วนชื่อสามัญ คือ Garlic

กระเทียมเป็นพืชล้มลุกประเภทใบเลี้ยงเดี่ยว สำหรับในประเทศไทยนิยมปลูกมากในทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่สำหรับกระเทียมที่ขึ้นชื่อว่ามีคุณภาพดี กลิ่นฉุนคงหนีไม่พ้นจังหวัดศรีสะเกษ


สรรพคุณตามภูมิปัญญาพื้นบ้าน

  1. น้ำมันหอมระเหยในกระเทียมช่วยขับลม

  2. ช่วยขับเหงื่อ

  3. ช่วยขับปัสสาวะ

  4. ฤทธิ์ขับน้ำดี

  5. ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้

  6. ช่วยลดการอักเสบ

  7. ช่วยลดความดันโลหิตสูง

  8. ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

  9. ช่วยแก้อาหารหอบหืด

  10. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง

  11. ช่วยรักษาโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่

  12. ช่วยบรรเทาอาการไอ น้ำมูกไหล ป้องกันหวัด

  13. ช่วยควบคุมโรคกระเพาะ ด้วยสารที่ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ

  14. ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย เพิ่มความยากอาหาร

  15. ช่วยป้องกันโรคท้องผูก

การรับประทานกระเทียมติดต่อกัน 15 วันได้ผลดี


สรรพคุณทางอาหาร

ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันและกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอล

กระเทียมมีกลิ่นหอมฉุนเผ็ดร้อน สารรสเผ็ดหนึ่งส่วนในกระเทียมสามารถลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด


การรับประทาน

ครั้งละ 3-4 กลีบ วันละ2-3 ครั้ง หลังอาหาร ต้องรับประทานกระเทียมสดบด ถ้าเป็นกระเทียมเจียว

ความร้อนจะทำให้สรรพคุณกระเทียมเหลือเพียงเล็กน้อย


ข้อควรระวัง

  1. ถ้าเก็บกระเทียมไว้นานเกินไป สารสำคัญในกระเทียมจะลดน้อยลง

  2. ไม่ควรกินกระเทียมทั้งกลีบ

  3. ควรทุบหรือสับกระเทียมก่อนกินเพื่อให้น้ำมันในกระเทียมออกฤทธิ์ในการรักษามากยิ่งขึ้น

  4. หากต้องการเก็บกระเทียมไว้เพื่อรับประทานนานๆให้นำไปดองในน้ำส้มสายชูหรือในน้ำซีอิ้ว เพราะจะช่วยรักษาคุณค่าทางอาหารของกระเทียมไว้ได้เป็นอย่างดี

  5. คนที่เป็นโรคกระเพาะหรือท้องว่าง ไม่ควรรับประทานกระเทียม เพราะจะทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารได้

  6. หากมีอาการปวดท้อง หรือคลื่นไส้ ควรรับประทานกระเทียมให้น้อยลง

  7. การปรุงกระเทียมโดยผ่านความร้อน เช่น การเจียวจะทำให้คุณค่าในการเป็นยารักษาโรคน้อยลง

  8. วิตามินและแร่ธาตุที่อยู่ในกระเทียมนั้น จะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับดินและสภาพอากาศที่ใช้ในการเพาะปลูกอีกด้วย

  9. สำหรับหญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ มีระดับความดันโลหิตเป็นปกติ ผู้ที่มีอาการของเลือดหยุดไหลช้า รวมไปถึงผู้ที่ใช้ยาอื่น ๆ เป็นประจำ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาแอสไพริน ยาแก้อักเสบ ยาต้านไวรัส คุณไม่ควรรับ

  10. แม้ว่ากระเทียมจะเป็นพืชที่มีสรรพคุณอยู่มากมาย แต่ก็ไม่ควรที่จะเลือกใช้กระเทียมเพื่อหวังผลในการรักษาอาการหรือโรคใดโรคหนึ่ง อีกทั้งผลลัพธ์ที่ได้ในแต่ละบุคคลก็อาจจะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นควรเลือกรับประทานให้หลากหลายและครบ 5 หมู่


คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียมดิบ(หัว) ต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 143 กิโลแคลอรี

  • คาร์โบไฮเดรต 30.0 กรัม

  • โปรตีน 5.6 กรัม

  • ไขมัน 0.1 กรัม

  • น้ำ 63.1 กรัม

  • เส้นใยอาหาร 0.9 กรัม

  • วิตามินบี 1 0.17 มิลลิกรัม

  • วิตามินบี 2 0.02 มิลลิกรัม

  • วิตามินบี 3 4.0 มิลลิกรัม

  • วิตามินซี 15.0 มิลลิกรัม

  • ธาตุแคลเซียม 5.0 มิลลิกรัม

  • ธาตุเหล็ก 5.4 มิลลิกรัม

  • ฟอสฟอรัส 140.0 มิลลิกรัม






ที่มา : กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข




















Comments


bottom of page