top of page
Writer's pictureBunnie

พริกเผ็ดเพราะมี "แคปไซซิน" (capsaicin)



ในประเทศไทยมีพริกอยู่มากกว่า 200 สายพันธ์ุ "พริก" มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันใช้พริกเป็นส่วนประกอบของอาหาร ทั้งเป็นเครื่องปรุงรสที่สำคัญ และมีการแปรรูป เช่น เครื่องแกงสำเร็จรูป ซอสพริก และน้ำพริก เป็นต้น

พริกเป็นพืชที่ปลูกและใช้ประโยชน์กันอยู่ทั่วโลก นอกจากพริกจะเป็นเครื่องเทศที่ช่วยปรุงแต่งรสชาติอาหารให้ถูกปากแล้ว พริกยังเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ช่วยให้เจริญอาหาร ประกอบอาหารได้หลายประเภท ในผลพริกมีสารอาหารที่มีคุณค่าหลายพันชนิด ประกอบด้วย โปรตีน วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ แต่สารที่เป็นจุดเด่นที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของพริกมี 2 ชนิด คือ สารแคโรทีนอยด์ (carotenoid) และ สารแคปไซซินนอยด์ (capsaicinoid)


สารแคโรทีนอยด์ (carotenoid)

สารให้สีในพริกจัดอยู่ในกลุ่มรงควัตถุพวกแคโรทีนอยด์ ซึ่งจะให้สีแดง สีส้ม และสีเหลือง มีคุณสมบัติคือไม่ละลายน้ำ แต่จะละลายได้ดีในไขมันและตัวทำละลายอินทรีย์ รงควัตถุนี้เหล่ามีอยู่ทั่วไปและมีปริมาณมากในธรรมชาติ


สารแคปไซซินนอยด์ (capsaicinoid)

เป็นสารประกอบสำคัญของพริก ที่ทำให้เกิดกลิ่นและรสเผ็ดร้อน ซึ่งประกอบด้วยแคปไซซิน (capsaicin) มีปริมาณสูงสุด 70% ไดไฮโดรแคปไซซิน (dihydrocapsaicin) 22% นอร์-ไดไฮโดรแคปไซซิน (nor-dihydrocapsaicin) 1% โฮโมแคปไซซิน (homocapsaicin)1% และสารอื่นๆอีก 6%

สารแคปไซซินพบมากในบริเวณเยื่อแกนกลางสีขาวหรือที่เรียกว่า “รกพริก” (Placenta) ในส่วนของ เนื้อ เปลือก และเมล็ดพริกจะมีสารแคปไซซินอยู่น้อยมาก ปริมาณของสารแคปไซซินจะมีความแตกต่างกันออกไป ตามสายพันธ์ุและระยะการสุกของพริก



ประโยชน์ที่ได้จากแคปไซซิน

  1. ช่วยต่อต้านแบคทีเรียและเชื้อรา

  2. ช่วยต้านการอักเสบ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้ออักเสบ

  3. ช่วยเพิ่มการเผาผลาญ

  4. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง

  5. ช่วยลดคอเลสเตอรอล

  6. ช่วยให้เจริญอาหาร

  7. รักษาอาการปวดเส้นประสาทชนิดเรื้อรัง

  8. ช่วยต้านมะเร็ง


ข้อควรระวัง

  1. เด็ก การกินพริกหรือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารแคปไซซินค่อนข้างไม่ปลอดภัยหากใช้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี

  2. ผู้ที่วางแผนเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานพริกก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์เพราะอาจทำให้เลือดออกมากในระหว่างและหลังการผ่าตัด

  3. ผู้ที่อยู่ในระหว่างการรับประทานยารักษาโรค เช่น ยาต้านเกล็ดเลือด เพราะอาจทำให้เกิดแผลฟกช้ำหรือมีเลือดออกได้ง่ายกว่าปกติ หรือยาทีโอฟิลลีน (Theophylline) และยาในกลุ่มเอซีอี อินฮิบิเตอร์ ซึ่งเป็นยารักษาความดันโลหิตสูง เพราะอาจส่งผลต่อการดูดซึมยาของร่างกาย อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของยา และทำให้เสี่ยงต่อการผลข้างเคียงได้

  4. ในผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร ไม่ควรกินเผ็ดมากเนื่องจากจะทำให้กระเพาะอาหารเกิดการระคายเคืองได้








ที่มา : การวิเคราะห์หาปริมาณแคปไซซินในพริก

งานวิจัยและพัฒนาพริก กรมวิชาการเกษตร

101 views0 comments

Recent Posts

See All

ความคิดเห็น


bottom of page