เอชไอวี (HIV)
หมายถึง ไวรัสที่ทําให้เกิดภูมิคุ้มกันบกพร่อง เอชไอวีเป็นชื่อย่อ มาจาก Human Immunodeficiency Virus
ผู้ป่วยที่มีแผลในปาก/มีปัญหาเกี่ยวกับการเคี้ยวการกลืนอาหาร
ส่งผลให้ผู้ป่วยกินอาหารได้น้อยลงกว่าปกติ ก่อให้เกิดปัญหาน้ำหนักตัวลดลงตามมาในที่สุด
แนวทางปฏิบัติ
เลือกกินอาหารอ่อนที่มีเนื้อละเอียดหรือนุ่ม เช่น ผลไม้ปั่น ไอศกรีม ไข่ ปลานึ่ง
เตรียมอาหารที่มีลักษณะที่กินได้ง่าย เช่น หั่นเนื้อ ผัก หรือผลไม้ชิ้นเล็ก ก่อนกิน
เติมผงวุ้น แป้งมัน หรือแป้งข้าวโพดลงในน้ำแกง เพื่อทำให้อาหารมีลักษณะข้นขึ้นจะทำให้กลืนง่าย เช่น ราดหน้า
หลีกเลี่ยงอาหารรสเปรี้ยวจัด เพราะจะทำให้แสบปาก เช่น มะนาว พริก หรืออาหารประเภทยำ ต้มยำ
หลีกเลี่ยงอาหารที่กรอบหรือแข็ง เช่น คุ้กกี้
หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณที่มีแผล
ถ้าปากแห้ง อาจจะใช้ลูกอมรสเปรี้ยวกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลาย
รักษาสุขภาพในช่องปาก
ผู้ป่วยที่มีอาการเบื่ออาหาร หรือ ความอยากอาหารลดลง
สาเหตุอาจเนื่องมาจากยาต้านไวรัสเอดส์ที่ใช้อยู่ แผลในปาก มีไข้ ขาดธาตุสังกะสี ตลอดจนปัญหาทางด้านจิตใจ ซึ่งสาเหตุทั้งหมดนี้จะส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลง เจ็บป่วยบ่อยขึ้น
แนวทางปฏิบัติ
กินอาหารทันทีที่รู้สึกหิว
กินอาหารที่ไม่จำเจ
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นแรง
กินอาหารทีละนิด แต่บ่อยครั้งทุก 2-3 ชั่วโมง
กินอาหารที่ให้พลังงานสูง
หาโอกาสในการกินอาหารร่วมกับเพื่อนๆ หรือญาติ
ผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
อาการคลื่นไส้อาเจียน อาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น การทำงานของระบบย่อยอาหารและทางเดินอาหารผิดปกติ ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด ตลอดจนความเครียด
แนวทางปฏิบัติ
ก่อนกินอาหารควรบ้วนปากด้วยน้ำเย็นเพื่อลดอาการคลื่นไส้
ควรกินอาหารแห้ง เช่น ขนมปังกรอบที่มีรสเค็มในตอนเช้า
ในช่วงที่ไม่มีอาหารคลื่นไส้ควรพยายามกินอาหารให้ได้มากที่สุด
ควรกินอาหารหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว
ควรกินอาหารที่ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารมัน
ควรกินอาหารทีละน้อย แต่บ่อยครั้ง
ควรกินอาหารที่เย็น เช่น น้ำหวาน ไอศกรีม
การดื่มน้ำขิงหรือชาขิงอุ่นๆ จะช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นแรง เช่น กะปิ สตอ ทุเรียน
ผู้ป่วยที่มีอาการท้องร่วง
ท้องร่วง หมายถึง อาการท้องเสียคือถ่ายอุจจาระเป็นน้ำมากกว่าวันละ3ครั้ง
แนวทางปฏิบัติ
ดื่มน้ำผสมผงเกลือแร่
ดื่มน้ำเพิ่มขึ้น 3-4 ลิตรต่อวัน
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกากใย
หลีกเลี่ยงอาหารมัน
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
หลีกเลี่ยงนมหรือผลิตภัณฑ์จากนม
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนทุกชนิด เพราะจะไปกระตุ้นการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักลด
หากผู้ป่วยน้ำหนักลดลงมากๆจะเลี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารและจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลงได้
แนวทางปฏิบัติ
กินอาหารให้ครบ 5 หมู่
เพิ่มอาหารกลุ่มของคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว แป้ง เผือก มัน ข้าวโพด และน้ำตาล
ถ้ากินอาหารมื้อหลักได้น้อย ก็ควรเพิ่มอาหารว่าง
เลือกดื่มนมเสริม
เลือกกินอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น เมนูผัดซีอิ้ว ข้าวผัด หรืออาหารผัดๆ ทอดๆ โดยใช้
น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว
ที่มา : Thai-Australian Collaboration in HIV Nutrition
ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย
Comments