top of page
Writer's pictureBunnie

กินอย่างไร เมื่อเป็นโรคเก๊าท์?

มาทำความรู้จักกันก่อนนะคะว่าโรคเก๊าท์ที่พูดถึงนี้คืออะไรกันแน่

โรคเก๊าท์

เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนของกรดยูริคภายในข้อจากนั้นจะทำให้เกิดอาการอักเสบ


อาการของโรคเก๊าท์เป็นอย่างไร?

อาการของคนที่เป็นโรคเก๊าท์ เราสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ

อาการเริ่มแรก จะมีอาการปวดรุนแรงอย่างทันทีทันใด มักเกิดที่หัวแม่เท้าเป็นที่แรก อาจเกิดขึ้นหลังการดื่มเหล้ามากเกินไป หรือ กินอาหารที่มีแคลอรีสูงมาก ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย เม็ดเลือดขาวสูง และอาการจะค่อยดีขึ้นใน 2-3 วัน และจะหายได้เองในระยะ5-7 วัน บางครั้งอาจจะเกิดขึ้นหลังผ่าตัด หรือหลังเป็นโรคติดเชื้ออย่างรุนแรง จะมีอาการปวดที่ข้อ ผิวหนังตรงข้อที่เป็นจะตึง ร้อน เป็นมัน อาการจะดีขึ้นในระยะ 3 วัน - 2สัปดาห์ หรือบางคนต้องใช้ยาขับยูริคออกจากร่างกายเพื่อให้อาการเหล่านี้ดีขึ้น


อาการพักไม่แสดงออก เป็นระยะที่ไม่มีอาการแสดง แต่ปริมาณยูริคในเลือดยังสูง อยู่ในช่วงเวลาระหว่างอาการหาย และเป็นขึ้นมาอีก แต่ละช่วงจะสั้นลง จนถึงขั้นเป็นเรื้อรัง


ระยะเป็นโรคเก๊าท์เรื้อรัง เป็นช่วงที่แสดงอาการของโรคเก๊าท์เป็นระยะๆ เกิดจากการสะสมของยูริคอยู่ในข้อกระดูก ข้อกระดูกที่ได้รับผลกระทบจากโรคเก๊าท์จะมีการเปลี่ยนแปลงจนทำให้ผิดรูปได้


สาเหตุของโรคเก๊าท์

เกิดจากการที่มีภาวะกรดยูริคในเลือดสูง สาเหตุ คือ

  1. กินอาหารที่มีสารพิวรีนมาก เช่น ตับ ไต สมอง และกินอาหารไขมันสูง

  2. การดื่มเหล้าและเบียร์(เบียร์ทำจากยีสต์ ซึ่งมีสารพิวรีนสูง เบียร์จึงเป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์น้อยแตมีพิวรีนสูงมาก)

  3. ร่างกายสังเคราะห์กรดยูริคมากขึ้น เกี่ยวกับกรรมพันธ์ุ

  4. การกินยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ทำให้กรดยูริคในเลือดสูง

  5. ปัจจัยอื่นๆ เช่น บาดเจ็บ ผ่าตัด ความเครียด


การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย

  1. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

  2. ควบคุมอาหารที่มีพิวรีน และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีพิวรีนสูง

  3. ดื่มน้ำมากๆเพื่อช่วยในการขับยูริคออกจากร่างกาย

  4. หลีกเหลี่ยงหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์

  5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

  6. ไม่เครียด ทำจิตใจให้สดชื่น ร่างเริง แจ่มใส


ปริมาณพิวรีนในอาหารส่วนที่กินได้ 100 กรัม

หมายเหตุ : ควรงดอาหารกลุ่มที่มีพิวรีนมาก โดยเด็ดขาดในระยะที่โรคกำเริบ







ที่มา : Gorinne H. Robinson(1972),Normal and Therapeutic.















15 views0 comments

Recent Posts

See All

Comments


bottom of page