ปัจจุบันมีการใช้วัตถุเจือปนในอาหารอย่างแพร่หลายเพื่อวัตถุประสงค์ที่ต่างกันออกไป วัตถุเจือปนในอาหารหากใช้ปริมาณมากเกินไปจะทําให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย หรืออาจจะได้รับพิษจากการสะสมของสารเคมีบางชนิดได้ และบางชนิดก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายอย่างรุนแรง
ดังนั้นวัตถุเจือปนในอาหารจึงเป็นสิ่งที่ต้องมีการควบคุมเฉพาะตาม พ.ร.บ. อาหารพ.ศ. 2522
บอแรกซ์
บอแรกซ์ เป็นสารอนินทรีย์สังเคราะห์ มีชื่อทางเคมีว่า โซเดียมเตตราบอเรต
(Sodium Tetraborate) โซเดียมบอเรต (Sodium Borate) มีลักษณะเป็นผลึกรูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ สีขาวขุ่นคล้าย ผงซักฟอก ละลายได้ดีในน้ำ จึงเรียกกันหลายชื่อ เช่น น้ำประสานทอง หรือ ผงกรอบ
บอแรกซ์ เป็นโทษต่อร่างกายได้ 2 ลักษณะ คือ
มีสะสมบอแรกซ์ ไว้ที่กรวยไตทําให้เกิดการอักเสบ และยังสามารถทําลายระบบทางเดินอาหาร
เกิดระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร ทําให้มีการเบื่ออาหาร อาเจียน ท้องร่วง น้ำหนักลดลง
อาการผื่นคันทางผิวหนัง ในรายที่บริโภคครั้งละมากๆ อาจเกิดอาการพิษอย่างรุนแรงได้ เช่น อาเจียนออกมาเป็นเลือด ปวดท้อง ผิวหนังมีผื่นแดง ไม่มีปัสสาวะ และหมดสติได้
การใช้สารบอแรกซ์ผสมอาหารในปัจจุบัน พบในอาหาร เช่น ลูกชิ้น หมูยอ ผักกาดเค็ม มะม่วงดองผลไม้ดองต่าง ๆ กล้วยทอด มันทอด เป็นต้น
การทดสอบเบื้องต้นโดยการใช้ชุดทดสอบ "บอแรกซ์"
อุปกรณ์ชุดทดสอบ
* ถ้วยยาพลาสติก 1 ใบ
* หลอดหยดยา 1 อัน
* ช้อนพลาสติก 1 คัน
* กระดาษขมิ้น ( 50 แผ่น ) 1 ขวด
* น้ำยาทดสอบบอแรกซ์ 1 ขวด
* คู่มือชุดทดสอบ 1 แผ่น
ขั้นตอนการทดสอบบอแรกซ์
1.สับตัวอย่างให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เท่าหัวไม้ขีดไฟ
2. ตักตัวอย่าง 1 ช้อนใส่ในถ้วยยา
3. เติมน้ำยาทดสอบบอแรกซ์ จนแฉะกวนให้เข้ากัน
4. จุ่มกระดาษขมิ้นให้เปียกครึ่งแผ่น
5. วางกระดาษขมิ้นบนจานกระเบื้องหรือแผ่นกระจก แล้วนำไปตากแดดนาน 10 นาที
Comments