top of page
Writer's pictureBunnie

เนื้อหมูสีแดงที่เราเห็นปลอดภัยจริงหรือไม่ ?



เนื้อสัตว์ทุกชนิดเป็นแหล่งของโปรตีนคุณภาพดี อาหารประเภทนี้จะช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเนื้อสัตว์ที่เรารับประทานเข้าไปปลอดภัย ไม่มีสารเจือปนในอาหาร โดยเฉพาะในเนื้อหมูที่มักจะใช้สารเร่งเนื้อแดง


สารเร่งเนื้อแดง

เป็นชื่อที่ใช้เรียกโดยทั่วๆไป ของสารในกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ ได้แก่ ซาลบูทามอล

ซิมบิวเทอโรล และเคล็นบิวเทอโรล เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันชนิดที่นิยมนำมาผสมในอาหารให้หมูกิน คือ

ซาลบูทามอล วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นการเจริญเติบโตของสัตว์ เพิ่มปริมาณเนื้อแดงและลดไขมัน


ความเป็นพิษ

เมื่อบริโภคสารกลุ่มนี้เข้าไปในปริมาณมาก ฤทธิ์ของสารจะไปกระตุ้นการทำงานของหัวใจหลอดลม กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง และมีผลทำให้หลอดลมขยายตัว ดังนั้นจึง ห้าม ใช้สารกลุ่มนี้กับผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง รวมทั้งผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน


รู้ได้อย่างไรว่าเนื้อหมูมีสารเร่งเนื้อแดงปนเปื้อน

  1. หมูที่ยังมีชีวิตอยู่สามารถสังเกตเห็นได้ว่ามีลักษณะคล้ายนักเพาะกาย คือ เราจะเห็นมัดกล้ามนูนเด่นกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณสะโพก สันหลังหรือบริเวณหัวไหล่ ถ้าได้รับสูงมากๆ หมูจะมีอาการสั่นอยู่ตลอดเวลา

  2. ในส่วนของเนื้อนั้น จะมีสีแดงคล้ำกว่าปกติ

  3. เนื้อที่หั่นทิ้งไว้จะมีลักษณะเนื้อค่อนข้างแห้ง แต่หมูปกติเมื่อหั่นทิ้งไว้จะพบน้ำซึมออกมาบริเวณผิว

  4. ส่วนของหมูสามชั้น หมูปกติจะมีเนื้อแดง 2 ส่วน ต่อมัน 1 ส่วน (33%) แต่สำหรับหมูใช้เร่งเนื้อแดงจะมีปริมาณเนื้อสูงถึง 3 ส่วนต่อมัน 1 ส่วน (25%) นั่นคือ มีเนื้อแดงมากกว่ามัน


ข้อแนะนำในการเลือกซื้อเนื้อหมู

  1. เลือกซื้อเนื้อหมูที่มีสีแดงไม่เข้มผิดปกติ ถ้าเป็นหมูสามชั้นต้องมีชั้นมันมากกว่าชั้นเนื้อแดง

  2. เลือกซื้อเนื้อหมูจากร้านที่มีการแสดงสัญลักษณ์อาหารปลอดภัย




18 views0 comments

Comments


bottom of page