top of page
Writer's pictureBunnie

''นับคาร์บดี มีชัยไปกว่าครึ่ง''

Updated: Jun 1, 2020

หลายท่านคงเคยได้ยิน คำว่า เบาหวาน โรคนี้นับว่าเป็นโรคยอดฮิตระดับต้นๆก็ว่าได้ ใช่ค่ะวันนี้เราจะมาพูดถึงการนับคาร์บสำหรับคนไข้เบาหวาน นอกจากเรื่องยาที่ต้องรักษาเป็นอย่างดีแล้ว เรื่องอาหารก็จัดว่าสำคัญไม่แพ้กันเลยทีเดียว ซึ่งก็มักเป็นประเด็นที่คนไข้เบาหวานไม่เข้าใจ


เช้าวันนี้เจอเคสคนไข้เบาหวานชนิดที่หนึ่ง HbA1c = 11% (การตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือดตลอดระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา) ทำการซักประวัติการบริโภคอาหารก็พบสาเหตุว่า รับประทานข้าวเหนียวเป็นหลักทั้ง 3 มื้อ ดื่มนมเปรี้ยววันละหนึ่งขวดเล็ก ก่อนมาหาหมอหนึ่งวันทานข้าวเหนียวมะม่วง


จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าอาหารที่คนไข้เลือกรับประทานส่วนใหญ่แล้วล้วนมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด เพราะฉะนั้นในคนไข้เบาหวานจึงจำต้องทราบปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานเข้าไปในแต่ละวัน ซึ่งเราจะเรียกวิธีการนี้ว่า "Carbohydrate Counting" หรืออาจจะเรียกสั้นๆได้ว่า

"Carb Count" ชื่อภาษาไทยคือ "นับคาร์บ" นั่นเองค่ะ


การนับคาร์บ เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยให้คนไข้เบาหวานสามารถวางแผนการกินและเพื่อจัดการระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในช่วงเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม


คาร์โบไฮเดรต 15 กรัม = 1 คาร์บ


กลุ่มของอาหารที่เราจะนับคาร์บได้ มีดังนี้

  1. กลุ่มข้าว-แป้ง

  2. กลุ่มผลไม้

  3. กลุ่มนม

  4. กลุ่มผัก

  5. กลุ่มน้ำตาล

กลุ่มข้าว-แป้ง 1ส่วน = 1 คาร์บ มีดังนี้

ที่มา : ศูนย์เบาหวานศิริราช


กลุ่มผลไม้ 1ส่วน = 1 คาร์บ มีดังนี้

ที่มา : ศูนย์เบาหวานศิริราช


กลุ่มนม 1ส่วน = 1 คาร์บ มีดังนี้

เลือกดื่มนมพร่องมันเนย หรือนมขาดมันเนย

กลุ่มผัก 3 ทัพพี = 1 คาร์บ

กลุ่มน้ำตาล 1ช้อนโต๊ะ = 1คาร์บ



การอ่านฉลากโภชนาการ ให้สังเกตที่จำนวนคาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรต 15 กรัม = 1 คาร์บ


ปริมาณเฉลี่ยที่ควรรับประทานสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

  • ผู้ชาย ไม่เกิน 5 คาร์บต่อมื้อ

  • ผู้หญิง ไม่เกิน 4 คาร์บต่อมื้อ


อาหารแต่ละชนิดทำให้น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำต่างกันเราเรียกค่าที่ใช้วัดนี้ว่า

"Glycemic index" (GI) ภาษาไทยเรียกว่าค่าดัชนีน้ำตาล โดยค่านี้จะมีค่าตั้งแต่ 0 - 100

ค่ายิ่งสูงแปลว่าอาหารนั้นจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเร็วขึ้น เมื่อเทียบกับอาหารที่มีค่า

GI ต่ำจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อยๆขึ้น

ยกตัวอย่าง เช่น ทานขนมปัง1แผ่นเท่ากัน แต่นาย ก ทานขนมปังขาว (GI100)

นาย ข ทานขนมปังโฮลวีท (GI71) น้ำตาลนาย ก ย่อมสูงกว่าในเวลาอันรวดเร็ว


แนวทางการรักษาเบาหวานของไทยแนะนำให้บริโภคคาร์โบไฮเดรตประมาณร้อยละ 50

ของพลังงานรวมต่อวันและเน้นย้ำว่าให้เลือกบริโภคอาหารที่มี Glycemic index ต่ำเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุมของแพทย์


ส่วนขนมหวาน ของหวาน เครื่องดื่มรสหวาน รวมทั้งเค้ก ไอศกรีมก้อนใหญ่ หรือ ขนมไทยไม่ต้องคำนวณ

Carb Count หรือ Glycemic index นะคะ ทุลุเกินมิเตอร์แน่นอน

"ไม่แนะนำให้ทานค่ะ"



28 views0 comments

Recent Posts

See All

Comments


bottom of page