top of page
Writer's pictureBunnie

อาหารกับยาวาร์ฟาริน (Warfarin)

Updated: Mar 24, 2020


ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) คืออะไร


  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นแบบชนิดรับประทาน

  • เป็นยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้ากว่าปกติ

  • ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการสังเคราะห์วิตามิน-เค

  • ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น สมอง ปอด ขา หรือที่ลิ้นหัวใจเทียม


ใครบ้างต้องกินยาวาร์ฟาริน(Warfarin)


  • หลังผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม

  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Atrial Fibrillation)

  • ภาวะลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือดในปอด,แขนหรือขา

  • ประวัติเส้นเลือดสมองอุดตันจากลิ่มเลือด

  • ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ

  • โรคลิ้นหัวใจรูมาติก (RHD)


อาหารที่มีวิตามินเคสูงจะมีผลต่อยาวาร์ฟาริน คือ ลดการออกฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน วิตามินเคมีอยู่ในอาหารหลายชนิด ดังนี้


ในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน การรับประทานผักเหล่านี้ไม่ถือเป็นข้อห้าม ดังนั้นผู้ที่ได้รับยาวาร์ฟารินสามารถเลือกรับประทานอาหารเหล่านี้ได้ทั้งหมด โดยรับประทานผักในปริมาณเท่าเดิมสม่ำเสมอในแต่ละวัน ไม่ควรเปลี่ยนแปลงปริมาณอาหาร แต่ถ้ารับประทานผักเหล่านี้ในปริมาณมากควรแจ้งแพทย์ให้ทราบทุกครั้ง




สมุนไพรหรือผลิตภิณฑ์อาหารเสริม อาจมีผลเพิ่ม/ลด การออกฤทธิ์ของยาวาร์ฟารินได้ ซึ่งผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง มีดังนี้


  • ขิง

  • วิตามิน E

  • สารสกัดแปะก๊วย

  • สารสกัดกระเทียม

  • น้ำมันปลา

  • มะละกอสุก

  • แก้วมังกร

  • กล้วยหอม

  • มะม่วงสุก

  • น้ำผลไม้สกัดเข้มข้นต่างๆ


ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยที่รับประทานยาวอร์ฟาริน


  • หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่มีการกระทบกระแทก

  • สวมถุงมือหากต้องใช้อุปกรณ์มีคม

  • ลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

  • ระมัดระวังการลื่นล้ม โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ

  • สวมหมวกกันน็อคทุกครั้งที่ขับขี่รถจักรยานยนต์

  • หลีกเลี่ยงการนวดที่รุนแรง

  • หลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้ากล้าม

  • แจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ทุกครั้งว่ารับประทานยาวอร์ฟาริน









แหล่งที่มา : สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

หน่วยบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยใน ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา


4,682 views0 comments

Recent Posts

See All

Comments


bottom of page