โภชนาการมีบทบาทมากสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านกายวิภาค ชีวเคมี และสรีรวิทยา ทารกในครรภ์จะได้รับพลังงานและสารอาหารจากมารดาผ่านทางรกตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ เพื่อนำมาสร้างเนื้อเยื่อของระบบประสาท สมอง และอวัยวะต่างๆให้มีความสมบูรณ์
ความต้องการพลังงานและสารอาหารของหญิงตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์มีความต้องการพลังงานเท่าเดิมและเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 2 และ 3
1.คาร์โบไฮเดรต
แหล่งอาหาร : อาหารกลุ่มข้าว-แป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น ขนมปัง เผือก มัน รวมถึงธัญพืช
2.โปรตีน ช่วยสร้างเซลล์และอวัยวะต่างๆทั้งของมารดาและทารก ดังนั้นมารดาควรได้รับโปรตีนในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น
แหล่งอาหาร : เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วต่างๆ เต้าหู้
3.ไขมัน เป็นแหล่งของพลังงาน ไขมันแบ่งออกได้ดังนี้
แหล่งอาหาร : ไขมันอิ่มตัว(Sturated fat) น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ครีม เนย ชีส กะทิ เนื้อสัตว์ติดมัน เนื้อสัตว์ที่ผ่านการแปรรูปทุกชนิด เช่น หมูยอ ไส้กรอก กุนเชียง ไขมันกลุ่มนี้มักมาคู่กับคอเลสเตอรอลเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
แหล่งอาหาร : ไขมันทรานส์ (Trans-Fat) เป็นไขมันที่ผ่านรูปแบบการเพิ่มไฮโดรเจน (Hydrogenated)จนกลายเป็นไขมันที่ไม่มีกลิ่นเหม็นหืนที่อาจเกิดขึ้น สามารถเก็บไว้ได้นาน เช่น ครีมเทียม เนยเทียม มายองเนส มาการีน และช็อคโกแลต เป็นต้น
แหล่งอาหาร : ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว(Monounsturated fat) มีความจำเป็นต่อร่างกายและมีประโยชน์มากแต่ไม่ทนต่อความร้อนสูง ได้แก่ น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก อะโวคาโด งา แหล่งอาหาร : ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน(Polyunsturated fat) น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด
4.เหล็ก มีความจำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดงให้เพียงพอสำหรับมารดาและส่งต่อไปยังทารก หญิงตั้งครรภ์ที่มีธาตุเหล็กน้อยมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะโลหิตจางและเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด หากเสียเลือดมากขณะคลอดอาจเป็น อันตรายถึงชีวิต
แหล่งอาหาร : เนื้อแดง ตับ เลือด ผักใบเขียว
5.แคลเซียม นับเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญในร่างกาย ใช้การสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ในขณะตั้งครรภ์หากได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมอยู่ในกระดูกมาใช้ทำให้เกิดผลกระทบคือ กระดูกพรุน
แหล่งอาหาร : นม โยเกิร์ต ปลาเล็กปลาน้อย เต้าหู้ คะน้า
6.ไอโอดีน เป็นแร่ธาตุที่สำคัญในทุกช่วงอายุ หากขาดไอโอดีนขณะตั้งครรภ์จะส่งผลต่อทารกทำให้มีความผิดปกติทางระบบประสาทและการเคลื่นไหว โรคเอ๋อเนื่องจากขาดไทรอยด์ฮอร์โมนในทารก ภาวะพิการทางสมอง เสี่ยงต่อการแท้งสูง
แหล่งอาหาร : อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน
7.วิตามินซี ช่วยดูซึมธาตุเหล็ก จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง
แหล่งอาหาร : พบได้ง่ายในผักและผลไม้ เช่น คะน้า บล็อคโคลี พริกหวาน ฝรั่ง มะขามป้อม ลิ้นจี่
8.โฟเลต หรือเรียกอีกชื่อว่าวิตามินบี9 มีหน้าที่สำคัญในการสร้างเซลล์ โดยในหญิงตั้งครรภ์ความต้องการโฟเลตจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเพื่อป้องกันภาวะการเจริญเติบโตผิดปกติโดยเฉพาะระบบประสาทของทารก
แหล่งอาหาร : บล็อคโคลี หน่อไม้ฝรั่ง แครอท คะน้า ผักโขม ไข่แดง ตับ เมล็ดธัญพืช
การดูแลโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์นับว่ามีความสำคัญมาก หากมีความรู้และทักษะในการบริโภคอาหารที่เหมาะสมจะช่วยให้การตั้งครรถ์มีคุณภาพ เป็นผลให้ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดอยู่ในเกณฑ์ปกติ สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปในอนาคต
Comments